วิชาคอมพิวเตอร์
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556
งานนำเสนอวิธีการติดตั้งโมเด็ม
จัดทำโดย
นายกฤติน ธรรมวาริน ชั้น ม.6/4 เลขที่ 11
นายธนพิชญ์ พิมล ชั้น ม.6/4 เลขที่ 7
นางสาวฉัตรฤทัย โตโฉม ชั้น ม.6/4 เลขที่ 37
นางสาวมนธยา ธิยะ ชั้น ม.6/4 เลขที่ 23
นางสาวณัฐิรัตน์ ขวัญศรี ชั้น ม.6/4 เลขที่ 38
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556
การประกอบคอมพิวเตอร์
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ISP
1.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ
ISP หมายถึงอะไร
(Internet Service Providers)
ถือเป็นกระดูกสันหลังของ
อินเทอร์เน็ต
ISP
เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (
Servers)
เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลาย
ISP
ให้บริการต่อสาย (
dial-up access)
เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (
newsgroups)
อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (
chat)
ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ
ISP
เป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง
ISP
จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดู
ISP
จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (
IP - Internet Protocol)
ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (
IP Address)
นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน
ISP
มีระบบเก็บบันทึก
IP Address
และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่
IP Address
และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น
บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม
2.การเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
การบริการลูกค้า พิจารณาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการบริการลูกค้า
อัตราค่าบริการ ในปัจจุบันมีการให้ข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างมากมาย คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนตัดสินใจเลือก
ความมั่นคง เช่นเดียวกับธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงประเภทอื่นๆ บางบริษัทเปิดดำเนินการเพียงเพื่อแสวงหาผลกำไร จากนั้นก็ปิดกิจการลง คุณควรหาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วหลายปี
ข้อเสนอพิเศษ ในสภาวะของตลาดที่มีการแข่งขันสูง บางบริษัทมีการให้ข้อเสนอพิเศษ เช่น การให้พื้นที่เว็บไซต์ฟรี เพื่อดึงความสนใจจากคุณ ข้อเสนอพิเศษเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่คุณจะต้องระมัดระวัง และตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการในระยะยาว
3.ยกตัวอย่างเว็บไซต์ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตมา 3 แห่ง
1.
http://www.thaifind.com/
2.
http://www.sanook.com/
3.
http://www.google.com/
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1.
การเชื่อมต่อแบบ
Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ
โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม
(Modem)
ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้
(Username)
และรหัสผ่าน
(Password)
มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ
Dial Up
คือ
-อุปกรณ์มีราคาถูก
-การติดตั้งง่าย
-การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน
56
kbit (
กิโลบิต
)
ต่อวินาที
2.
การเชื่อมต่อแบบ
ISDN(Internet
Services Digital
Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ
Dial Up
เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ
ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล
(Digital)
และต้องใช้โมเด็มแบบ
ISDN
Modem
ในการเชื่อมต่อ
ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ
ISDN
จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
คือ
-
ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
(ISP)
ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ
ISDN
-
การเชื่อมต่อต้องใช้
ISDN
Modem
ในการเชื่อมต่อ
-
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้
อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ
ISDN
ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ
Dial-Up
3.
การเชื่อมต่อแบบ
DSL(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ
DSL
ก็คือ
-
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ
DSL
หรือไม่
-
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ
DSL
-
การเชื่อมต่อต้องใช้
DSL Modem
ในการเชื่อมต่อ
-
ต้องติดตั้ง
Ethernet Adapter Card
หรือ
Lan Card
ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ
Dial-Up
และ
ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.
การเชื่อมต่อแบบ
Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ
Cable TV
จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
-
ใช้
Cable Modem
เพื่อเชื่อมต่อ
-
ต้องติดตั้ง
Ethernet Adapter Card
หรือ
Lan Card
ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์
Cable Modem
ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.
การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม
(Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า
Direct Broadcast Satellites
หรือ
DBS
โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
-
จานดาวเทียมขนาด
18-21
นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
-
ใช้
Modem
เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม
(Satellites)
ได้แก่
-
ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
-
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
-
ค่าใช้จ่ายสูง
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556
็History of the internet
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทาง
สาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถ
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เพลงที่ชอบ
ทดลองแทรกไฟล์ youtube
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)